ข้อมูลจาก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งภูมิปัญญาสร้างสรรค์(ประเทศไทย)
พื้นฐานที่ไม่เหมือนสิ่งใด
ของการฝึกสมาธิล่วงพ้นของมหาริชี
1. การฝึกสมาธิล่วงพ้น ตามที่สอนโดย ท่านมหาริชี มเหช โยคี นั้นมีมูลฐานที่ไม่เหมือนสิ่งใด
• มีเอกลักษณ์ในความเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพต่อการปรับปรุงทุกส่วนของชีวิตไปพร้อมๆกัน
• มีหลักการมูลฐานและการปฏิบัติที่แตกต่างจากวิธีการอื่นๆหรือการพัฒนาทางจิตหรือทางกายภาพที่มีอยู่ในโลก
• ไม่มีความพยายามใดๆที่ต้องใช้ในการปฏิบัติ-เป็นสิ่งที่ง่าย เป็นธรรมชาติและสามารถเรียนรู้ได้อย่างง่ายดายโดยบุคคลใดก็ได้
2. การฝึกสมาธิล่วงพ้นของมหาริชี เป็นขบวนการง่ายๆตามธรรมชาติ เป็นวิธีที่จิตจะเข้าสู่สภาพจิตที่สงบนิ่ง ณ แหล่งเกิดของความคิดอย่างง่ายดายและเป็นธรรมชาติ สู่จิตสำนึกล่วงพ้น จิตสำนึกอันบริสุทธิ์ จิตสำนึกอ้างอิงตนเอง ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของกระบวนการสร้างสรรค์ทั้งปวง
• ขั้นตอนนี้สามารถเปรียบได้กับสายน้ำแห่งแม่น้ำซึ่งโดยธรรมชาติจะไหลไปสู่มหาสมุทรและกลับสถานะสู่ความเป็นมหาสมุทร
3. การฝึกสมาธิล่วงพ้นของมหาริชี จะปฏิบัติสองครั้งต่อวันครั้งละ 15 ถึง 20 นาทีในเวลาเช้าและเย็นโดยการนั่งสบายๆขณะหลับตาและ
• มีประสบการณ์โดยคนทุกระดับสติปัญญา, ทุกวัย, วัฒนธรรม ศาสนาและทุกระดับการศึกษา
• ให้การพักลึกต่อระบบประสาท
• ขยายศักยภาพของจิต
• เปิดเผยศักยภาพอันเต็มที่ของบุคคลอย่างเป็นธรรมชาติ
• เสริมส่งด้านต่างๆของชีวิตประจำวันทั้งหมด
4. ระหว่างการฝึกสมาธิล่วงพ้นนั้น ความรู้ตัวของแต่ละคนจะตั้งมั่นและเข้าสู่ประสบการณ์ของการพักลึกที่ตื่นตัวที่ไม่เหมือนการพักอื่นใด
• ขณะที่ร่างกายเข้าสู่การผ่อนคลายอย่างล้ำลึกนั้นจิตก็ล่วงพ้นไปจากกิจกรรมในจิตใจทั้งหมดไปสู่ประสบการณ์ของความรู้ตัวที่เรียบง่ายที่สุดอันเป็นจิตสำนึกล่วงพ้นที่ซึ่งจิตสำนึกในตัวเราเองเปิดออกสู่ตนเอง
• นี่คือสถานะของจิตสำนึกของตนอ้างอิงสู่ตนเอง
5.ประสบการณ์ของจิตสำนึกล่วงพ้น พัฒนาศักยภาพแห่งการสร้างสรรค์ที่แอบแฝงอยู่ในแต่ละคนออกมา ขณะเดียวกันก็สลายการสะสมความเครียดและความเมื่อยล้าในระหว่างการปฏิบัติ
• ประสบการณ์ ในสิ่งนี้จะสร้างความมีชีวิตชีวาของการสร้างสรรค์ พลัง ความเป็นระเบียบและอำนาจการจัดการขึ้นในความรู้ตัวของผู้นั้น อันก่อเกิดผลในการเพิ่มประสิทธิภาพและความสำเร็จในชีวิตประจำวัน
6. จากปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา มีผู้คนกว่าหกล้านคนทั่วโลกได้เรียนโปรแกรมการฝึกสมาธิล่วงพ้นของมหาริชี เทคนิคที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นธรรมชาตินี้ ได้ก่อให้เกิดประสบการณ์ส่วนตัวของบุคคลจากหลากหลายอาชีพซึ่งได้ปฏิบัติการฝึกสมาธิล่วงพ้นนี้อย่างเป็นประจำ และถูกบันทึกลงสู่เอกสารการวิจัยอย่างกว้างขวางทางวิทยาศาสตร์ในทุกพื้นที่ของชีวิต สรีรวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยาและสิ่งแวดล้อม